Banner

ครอบครัวไทลื้อเป็นครอบครัวใหญ่ ดังนั้นบ้านจึงต้องสร้างเป็นบ้านหลังใหญ่ เฮินหรือบ้านที่สร้างตามสถาปัตกรรมไทลื้อแบบดั้งเดิมนั้นมีหลังคาสูงมุงด้วย หญ้าคา ใต้ถุนสูง เข้าไม้ด้วยวิธีเจาะรูแล้วใช้ลิ่ม ประกอบเป็นโครงสร้าง เสาก็ต้องเจาะรูใส่แวง เป็นต้น แต่เฮินลื้อที่มีให้เห็นในปัจจุบันมีอยู่น้อยมาก ที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยามีเหลืออยู่หลังเดียวคือบ้านป้าแสงดา-พ่อใหม่พรหม สมฤทธิ์ บ้านธาตุสบแวน สร้างด้วยไม้ มุงด้วยแป้นเกล็ดแม้จะมองดูภายนอกมีหลังคา 2 หลัง แต่ในตัวบ้านจะเป็นโถงใหญ่ห้องเดียว มีครัวไฟหรือห้องครัวอยู่ด้วยกับที่นอน ซึ่งจะกางมุ้งสีดำเรียงกันไป แต่ถ้าลูกสาวแต่งงานก็ต้องทำม่านกั้นเป็นสัดส่วน

ใต้ถุนบ้านไทลื้อใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ใช้แขวนเปลเด็ก ตั้งกี่ทอผ้า(หูก) ช่องว่างระหว่างเสาบ้านใช้เป็นที่เก็บฟืนและใต้ถุนยุ้งข้าวยังใช้เป็นคอกวัว ความหรือเป็นเล้าไก่ เล้าหมู จุดเด่นสะดุดตาของบ้านลื้อก็คือปุ้มปุก ซึ่งก็คือชั้นยกระดับก่อนบันไดขั้นแรก ใช้เป็นที่วางผ้าเช็ดเท้าหรือรองเท้า สำหรับรองเท้านั้นคนลื้อเรียกว่า เกิบ รองเท้าแตะคนลื้อเรียกว่า แค้บแต๊ะ